browser icon
You are using an insecure version of your web browser. Please update your browser!
Using an outdated browser makes your computer unsafe. For a safer, faster, more enjoyable user experience, please update your browser today or try a newer browser.

เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารฐาน Scopus หรือ ISI

Posted by on 22 ตุลาคม, 2014

สรุปสาระสำคัญ การจะเขียนบทความวิจัยลงในวารสารไหนก่อนอื่นเราต้องสืบค้นก่อนว่าในฐานที่เราต้องการลงมีกี่วารสารเพราะทั้งสายวิทยาศาสตร์และสายสังคมต่างก็มีวารสารในกลุ่มของตัวเองที่แตกต่างกันไป บางครั้งวารสารในฐาน Scopus ก็มีที่เขียนเป็นภาษาไทยเช่นกัน ดังนั้นผู้ที่ไม่เชียวชาญภาษาอังกฤษก็อย่าเพิ่งท้อแท้

จากนั้นให้อ่านธีมของวารสารว่าเขามีข้อกำหนดอย่างไรบ้าง ให้เขียนได้ไม่เกินกี่หน้า โดยส่วนมากวารสารสายสังคมศาสตร์มักจะไม่เกิน 15 หน้า จากนั้นให้เราแบ่งหน้าตามสัดส่วนดังนี้

หน้าที่ 1. บทนำและที่มาของปัญหาวิจัย.

หน้า 2-3 เป็น ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

หน้า 4-5 เป็น ข้อมูลและระเบียบวิธีวิจัย

หน้า 6 เป็น ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

หน้า 7-9 เป็นสรุปผลการวิเคราะห์ข้อมูล

หน้า 10 – 13 เป็นสรุปและอภิปรายผล

หน้า 14 เป็น Summary

หน้า 15 เป็น reference ไม่ควรเกิน 15 paper เพราะจะมากเกินไป

เมื่อส่งบทความไปแล้ว peer review มี comment มาให้แก้ไข ขอให้รับฟังและแก้ไขตามข้อคิดเห็นนั้นเพราะนั่นหมายถึงว่าบทความของคุณได้รับการยอมรับแล้วเพียงปรับแก้ให้เหมาะสมตามที่ peer แนะนำมาเท่านั้นโดยส่วนมากวารสารต่างประเทศ peer มักจะช่วยเหลือชี้แนะเพื่อให้เรามีโอกาสได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ เมื่อเราแก้ไขเสร็จให้ทำตารางแสดงการปรับแก้ให้ผู้ตรวจบทความได้รับทราบว่าของเดิมเป็นอย่างไร และ ของใหม่ที่ปรับแก้แล้วตามข้อเสนอแนะเป็นอย่างไร อยู่หน้าไหนของบทความเพราะผู้ตรวจภายหลัง peer เสนอแนะมักเป็นเจ้าหน้าที่ของวารสารไม่ใช่ peer จึงควรชี้แจงให้ตรวจง่ายขึ้นและจะได้รับการตอบรับเร็วขึ้น

ใส่ความเห็น