ผู้เขียนได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมกับ รศ.ดร. ธนชาติ นุ่มนนท์ อีกครั้ง โดยในครั้งนี้ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นผู้เชิญท่านมาบรรยายเกี่ยวกับ “การประยุกต์ใช้ Cloud สำหรับผู้ประกอบการ”
ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับระบบ Clound Computing กันสักเล็กน้อยว่ามันคืออะไร
- Cloud Computing ก็คือ ระบบขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้งานอาจจะไม่จำต้องทราบว่า Server หรือแม่ข่ายที่ให้บริการต่าง ๆ ถูกตั้งอยู่ที่ไหน และ Clound Computing จะต้อง มีคุณสมบัติที่สำคัญอยู่ 5 ด้านคือ สามารถเรียกใช้งานได้เองตามต้องการ (On Demand Self Service) สามารถเรียกใช้งานจากที่ไหนหรืออุปกรณ์ใดๆก็ได้ (Broad network access) ใช้ทรัพยากรร่วมกันกับระบบอื่นๆ (Reseource Polling) ระบบมีความยืดหยุ่นสูงที่จะรองรับผู้ใช้จำนวนมากได้ (Elasticity) และสามารถวัดการใช้งานได้ (Measured Service) Cloud Computing เป็นรูปแบบการดำเนินการทางธุรกิจ (Business Model) โดยอาจใช้เทคโนโลยีอย่าง ใน Virtualization ในการติดตั้ง ซึ่ง Virtualization คือเทคโนโลยีที่ซ่อนระบบฮาร์ดแวร์ไว้จากระบบซอฟต์แวร์ ผู้ใช้สามารถที่จะเรียกใช้ระบบปฎิบัติการหรือซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ได้ โดยไม่จำเป็นต้องติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง และสามารถที่จะใช้ระบบปฎิบัติการที่หลากหลายจากฮาร์ดแวร์ชุดเดียวกันดังรูปที่ 3 ด้านล่างนี้
รูปที่ 1 แสดงโครงสร้างการทำงานของ Virtualization
ที่มา:http://thanachart.org/
โดยในครั้งนี้ รศ.ดร. ธนชาติ นุ่มนนท์ ได้พูดให้เห็นถึงประโยชน์ของการประยุกต์ใช้ระบบ cloud computing กับองค์กรหรือผู้ประกอบการ เช่นในอดีตหน่วยงานส่วนใหญ่ที่ต้องการมีระบบ email sever เป็นต้องตนเองก็จะต้องมีการจ้างบริษัทหรือหน่วยงานเข้ามาทำการติดตั้งและวางระบบให้ นอกจากนี้ยังจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา และอาจจะต้องมีการว่าจ้างเจ้าหน้าที่คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยดูแลระบบให้ ทำให้เสียค่าใช้จ่ายจำนวนมาก และระบบที่ได้ก็ไม่มีความปลอดภัยกับข้อมูลและไม่มีความเสถียรเท่าเท่าไหร่นัก แต่ปัจจุบันด้วยแนวคิดของระบบ cloud computing ทำให้ บริษัทหรือองค์กรที่ต้องกมีระบบอีเมล์เป็นของตนเองสามารถติดตั้งหรือบริหารจัดการได้ด้วยตนเองเพียงแค่ไม่กี่นาทีก็สามารถใช้งานระบบเมล์ได้ โดยไม่จำเป็นจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวขาญหรือผู้ดูแลระบบในการบริหารจัดการอีกต่อไป ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในองค์กรได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่เราไม่จำเป็นต้องรู้ว่าพวกเค้าเหล่านั้นอยู่ที่ไหน คอยทำการบริหารจัดการระบบเมล์ของเราให้มีความปลอดภัยและมีเสียรภาพที่ดี
ตัวอย่างของการนำระบบ Cloud computing เข้ามาใช้ในองค์กรที่ใกล้ตัวของผู้เขียนมากที่สุดคือ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ทำความร่วมมือขอใช้บริการระบบ Google Apps for Education เข้ามาใช้ โดย Google Apps for Education ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในองค์กรได้ฟรีโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายมีฟีตเจอร์ต่าง ๆ ที่ค่อยให้บริการอยู่อย่างมากมาย เช่น
1) ระบบอีเมล์บริหารจัดการอีเมล์ภายใต้โดเมนเนมของตัวเอง
2) ระบบแบ่งปันไฟล์ข้อมูลหรือการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ใช้ในองค์กร
3) ระบบบริหารจัดการปฏิทินออนไลน์ในองค์กร
4) ระบบแบบสร้างแบบสอบถามออนไลน์
5) ระบบบริหารจัดการชื่อที่อยู่ของบุคลากรในองค์กร
6) ระบบเว็บไซต์ส่วนบุคคล
7) ระบบประชุมทางไกล
8) ระบบกระจายสัญญาณภาพออนไลน์และออฟไลน์ ผ่านทางเว็บไซต์
9) ระบบแชทออนไลน์ภายในองค์กร
10) ระบบบริหารจัดกลุ่ม เพื่อใช้รับส่งข้อมูลข่าวสารภายในกลุ่ม แผนก
หากผู้อ่านท่านใดสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขอใช้บริการ Google Apps for Eduction สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.google.co.th/intx/th/work/apps/education/