browser icon
You are using an insecure version of your web browser. Please update your browser!
Using an outdated browser makes your computer unsafe. For a safer, faster, more enjoyable user experience, please update your browser today or try a newer browser.

ประชากร ตัวอย่าง และการเลือกวิธีการสุ่มตัวอย่างที่ดี

Posted by on 11 พฤษภาคม, 2015

การอบรมการเขียนบทความวิจัยเพื่อให้ได้รับการตีพิมพ์ที่ข้าพเจ้า เข้ารับการอบรมกับ รศ.ดร.โยธิน แสวงดี วันที่ 6 พ.ค.58 นั้น ข้าพเจ้าได้มีความรู้เพิ่มขึ้นมากมาย ในประเด็นที่ข้าพเจ้าอยากนำเสนอให้ท่านผู้อ่านได้มีโอกาส ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ คือ
วิธีการเลือกการสุ่มตัวอย่างมีข้อดีและไม่ดีแตกต่างกัน
หลักการในการเลือกวิธีการสุ่มตัวอย่าง
1. วิธีการสุ่มตัวอย่างต้องสอดคล้องกับหัวข้อวิจัยและคำถามของการวิจัย
2. วิธีการสุ่มตัวอย่างต้องสอดคล้องกับสถิติที่จะใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
3. วิธีการสุ่มตัวอย่างต้องขึ้นอยู่กับการออกแบบการวิจัย เช่น การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research design: Randomize control trial (RCT) การวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design)
ถ้าเลือกได้ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบที่เป็นไปตามโอกาสของความน่าจะเป็นจะดีที่สุด
แต่ บางทีไม่สามารถทำได้เพราะขึ้นอยู่กับเป้าหมายของการวิจัย (การสำรวจ) ว่าต้องการทราบอะไร จากใคร ฯลฯ

ดังนั้น วิธีการเลือกการสุ่มตัวอย่าง

จะต้องพิจารณาถึงขนาดของงานวิจัยก่อนว่า ต้องการให้ครอบคลุมแบบใด เช่น เป็นตัวแทนประเทศ เป็นตัวแทนภาค เป็นตัวแทนจังหวัด เป็นตัวแทนอำเภอ เป็นตัวแทนตำบล เป็นตัวแทนเขตเมือง เป็นตัวแทนเขตชนบทเป็นตัวแทนหมู่บ้าน ฯลฯ

ต้องพิจารณาที่ปรากฏการณ์ลักษณะของหน่วยในการสังเกตก่อนว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร เช่น ปรากฏอยู่ในลักษณะแบบเป็นหลายขั้นตอนอยู่หรือไม่ หรือว่ากระจุกตัวเป็นกลุ่มๆ หรือว่าเน้นที่หน่วยในการวิเคราะห์โดยตรงที่สามารถเลือกสุ่มได้เลย
ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

(Penpak Pheunpha, PhD)

ใส่ความเห็น