จากโครงการฝึกอบรมผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรโดยศาสตราจารย์วุฒิชัย ธนาพงศธร ทำให้ผู้เขียนเข้าใจได้มากขึ้นถึงบทบาทที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ต้องได้รับความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกระดับ เริ่มตั้งแต่ผู้สอน หลักสูตร คณะ มหาวิทยาลัย และรวมถึงผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาที่จะมีส่วนช่วยให้หลักสูตรได้สำรวจสิ่งที่ทำ สะท้อนข้อมูล และเสนอแนวทางเพื่อให้หลักสูตรสามารถพัฒนาต่อไปอย่างมีระบบ Input –> Process –> Output ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ซึ่งในที่นี้ผู้เขียนจะกล่าวถึงการประเมินโดย Peer Review
การเป็น Peer ที่ดีมีหลักคิดดังนี้
- Quantity and Quality พิจารณาข้อมูลที่นำเสนอควบคู่กันไปทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ
- Standard and Excellence ผู้ประเมินต้องเข้าใจและรู้จริงในมาตรฐานการศึกษา สามารถเชื่อมโยงการบริหารงานได้ทั้งระบบ เพื่อที่จะชี้แนะแนวทางการพัฒนาได้อย่างเหมาะสม
- Reviewer and Reviewee ทั้งผู้รับการประเมินและผู้ตรวจประเมินต้องทำความเข้าใจร่วมกันและตรงกัน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ ยังมีแนวทางในการประเมิน 7 ขั้นตอนดังนี้
- อ่าน มคอ.7 ในภาพรวม
- ประเมินคุณภาพในภาพรวม ให้คะแนน A-F โดยเทียบ มคอ.2 กับ มคอ.1 และเทียบหลักสูตรเดียวกันในสถาบันอื่น
- เรียนรู้ ทำความเข้าใจความหมาย จุดประสงค์ของตัวบ่งชี้
- อ่าน SAR อย่างละเอียด ดูหลักฐานพร้อมให้คะแนน
- สรุปผลการตัดสินใจ โดยพิจารณาเชื่อมโยงสอดคล้องทั้งปริมาณและคุณภาพ
- วิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อเขียนรายงาน
- นำเสนอผลการประเมิน