browser icon
You are using an insecure version of your web browser. Please update your browser!
Using an outdated browser makes your computer unsafe. For a safer, faster, more enjoyable user experience, please update your browser today or try a newer browser.

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning): หลักและแนวคิด

Posted by on 1 กรกฎาคม, 2015

“จะมีวิธีการสอนอย่างไรบ้างหนอให้นักศึกษาตั้งใจเรียน ฝึกคิด และได้เรียนรู้อย่างกระตือรือร้นมากขึ้น”
ผมเชื่อว่าผู้มีอาชีพในฐานะผู้สอนหนังสือคงมีคำถามแบบนี้มาแล้วทั้งนั้น อาจารย์บางท่านอาจจำนนต่อปัญหา บางท่านอาจทดลองมาแล้วหลายวิธี บางท่านกำลังหาวิธีการดีๆที่มีประสิทธิภาพอยู่

จากการอบรม เรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem based Learning :PBL) เมื่อวันที่29 มิ.ย.2558 ที่ห้องประชุมศรีเมืองใหม่ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทำให้ผู้เขียนมีความหวังอีกครั้งที่จะพบวิธีที่มีประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น (ซึ่งเดิมทีก็ได้เคยพยายามใช้การสอนแบบPBL นี้มาบ้างพอสมควรแต่เป็นลักษณะประยุกต์ใช้ และยังขาดกระบวนการที่ชัดเจน) เมื่อได้ผ่านการอบรมผู้เขียน สรุปได้ว่า การสอนแบบ PBL เป็นการสอนที่มีความแตกต่างจากการสอนแบบดั้งเดิมที่เริ่มต้นด้วยการสอนด้านหลักการและทฤษฎีแก่นักศึกษาก่อน แล้วจึงให้โจทย์กับนักศึกษาเพื่อใช้ทฤษฎีนั้นในการตอบโจทย์หรือนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้ ส่วนการสอนแบบ PBL จะเริ่มต้นด้วยการให้โจทย์ปัญหาก่อนเป็นอันดับแรก โดยโจทย์ปัญหานี้จะมีความยาก ความซับซ้อน หรือความลึกของเนื้อหา ที่ทำให้นักศึกษายังไม่สามารถตอบโจทย์ได้ทันที แต่นักศึกษาต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ ตำรา วารสาร สื่อออนไลน์ หรือแหล่งความรู้ที่น่าเชื่อถืออื่นๆ แล้วนักศึกษาจึงจะสามารถตอบโจทย์ปัญหานั้นได้ อย่างไรก็ตามการจัดแบบ PBL ดังกล่าวนี้บางครั้งมักเกิดอุปสรรคที่ในบางโจทย์ปัญหานักศึกษาอาจไม่มีพื้นฐานความรู้ หรือมีในระดับที่ยังไม่ได้ช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ดีได้ ผู้สอนอาจต้องเริ่มต้นด้วยการให้ความรู้ ทฤษฎี หรือหลักการในบางส่วน คือประมาณ 25-50 % ของความรู้ที่นักศึกษาควรได้รับตามวัตถุประสงค์ของเนื้อหานั้นๆ

ด้วยหลักการดังกล่าวข้างต้น แนวการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอน สามารถทำได้หลากหลาย แล้วแต่ลักษณะของเนื้อหาแต่ละรายวิชา และวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้โดยอาจนำสื่อต่างๆมาประกอบในการจัดการเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจ และกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งรายละเอียดและตัวอย่างจะได้กล่าวในบทความต่อไป
สุขวิทย์ โสภาพล
1 ก.ค.58

ใส่ความเห็น