จากการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรม”สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่2 เมื่อวันที่ 6-10 ก.ค.58 มีเทคนิคและการทบทวนวรรณกรรมและการพัฒนากรอบแนวคิดงานวิจัยมาแบ่งปันเพื่อนๆอาจารย์ดังนี้
การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เป็นการสืบค้นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจจะศึกษาวิจัย เพื่อให้ความรู้ครอบคลุมกับประเด็นที่ทำการวิจัย
– เพื่อนำมาเป็นต้นแบบในการวิจัยที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่น การสร้างเครื่องมือ แนวทางการวิเคราะห์ ตัวแปรที่มีความสำคัญ
-นำมาต่อยอดในการทำวิจัย หลีกเลี่ยงการซ้ำซ้อนให้ได้ประเด็นใหม่ ได้ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ
วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง
1. ช่วยให้ทราบว่า เรื่องที่จะศึกษามีความซ้ำซ้อนกับงานวิจัยอื่นๆหรือไม่
2. ช่วยให้ผู้วิจัยรวบรวมผลงานวิจัยและความรู้ใหม่ๆมาใช้ประโยชน์ อาทิ
– เพิ่มความชัดเจนของปัญหาวิจัย
– กำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย
– การทดสอบสมมติฐานการวิจัย
– การวิเคราะห์ข้อมูลและการอภิปรายผลการวิจัย
– นำข้อเสนอจากงานวิจัยที่ผ่านมามาใช้ประโยชน์
หลักการคัดเลือกวรรณกรรมที่เหมาะสม
* น่าเชื่อถือ (ฐานข้อมูล/Impact Factor/ผู้เขียน/หน่วยงาน)
* ทันสมัย ทันเหตุการณ์ (ไม่เกิน10ปีย้อนหลัง ยกเว้นบางสาขาหรือทฤษำีที่เป็นที่ยอมรับแล้ว)
* เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะทำวิจัย
สามารถให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ เพิ่มคุณภาพงานวิจัย
แหล่งสืบค้นวรรณกรรมที่นิยมแพร่หลาย
– TCI (Thai Journal Citation Index)
– Google Scholars
– ฐานข้อมูลของหน่วยงาน/สถานศึกษา
– ฐานข้อมูลของ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาแห่งชาติ (สกอ.)
กรอบแนวคิดการวิจัย
* แนวคิด สิ่งที่เกิดจากการคิด โดยมีพื้นฐานความรู้ หรือภายใต้ทฤษำีที่เกี่ยวข้อง
* กรอบแนวคิดการวิจัย จึงหมายถึง ขอบเขตความคิดที่ผู้วิจัยต้องการศึกษา ซึ่งอาจตั้งอยู่ภายใต้กรอบทฤษฎีหรือเกิดจากการทบทวนวรรณกรรมแล้วมาสังเคราะห์เป็นแนวคิดงานวิจัย
สรุปความหมายของกรอบแนวคิดการวิจัย
หมายถึง การนำเสนอชุดของตัวแปรที่จะทำการวิจัยเป็นตัวแปรที่คาดว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างกัน คือ ตัวแปรต้น VS. ตัวแปรตาม โดยมีกรอบที่ชัดเจนและเป็นไปได้ ทั้งด้านเวลา งบประมาณ และพื้นความรู้