ความรู้ และแนวปฎิบัติที่ดี ที่ได้จากผลการดำเนิน โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบูรณาการการวิจัยและผลประเมินการเรียนการสอน เพื่อลดอัตราการตกออกของนักศึกษา
เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2558
1. ความรู้ที่ได้จากผลการวิจัย The nature and causes of dropout among university students in the Faculty of Management Science, Ubon Ratchathani University.
- นิยามของคำว่าตกออก ประกอบด้วย
1.1 นักศึกษาลาออก
1.2 นักศึกษาไม่ต่อทะเบียนนักศึกษา
1.3 นักศึกษาถูกให้ออกเนื่องจากมีผลการเรียนต่ำ (พ้นสภาพการเป็นนักศึกษา)
- ศึกษาข้อมูลนักศึกษา รับเข้าในปีการศึกษา 2552-2554
- อัตราการตกออกสูงสุด
3.1 นักศึกษารหัส 52 อัตราการตกออกสูงสุดร้อยละ 12 หรือ 114 คน
จากจำนวนนักศึกษา 819 คน ในชั้นปีที่ 2 ภาคต้น ปีการศึกษา 2553
3.2 นักศึกษารหัส 53 อัตราการตกออกสูงสุดร้อยละ 14 หรือ 75 คน
จากจำนวนนักศึกษา 471 คน ในชั้นปีที่ 2 ภาคต้น ปีการศึกษา 2554
3.3 นักศึกษารหัส 54 อัตราการตกออกสูงสุดร้อยละ 11 หรือ 63 คน จากจำนวนนักศึกษา
471 คน ในชั้นปีที่ 2 ภาคต้น ปีการศึกษา 2555
4. จากรายงานวิจัยสรุปได้ว่า
4.1 วิกฤตการตกออกของนักศึกษาคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
คือ ปี 2 ภาคต้น
4.2 GPA ของนักเรียนตอนรับเข้ายิ่งสูง อัตราการตกออกจะต่ำ
4.3 นักศึกษาที่มีภูมิลำเนาห่างจากมหาวิทยาลัยมาก ยิ่งมีอัตราการตกออกมา
4.4 นักศึกษากลุ่มที่มีผลการเรียนอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ต้องการให้คณะ/มหาวิทยาลัย สนับสนุน
ในทักษะที่จำเป็นต่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษา และทักษะทางสังคม
- ความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีในการลดอัตราการตกออกของนักศึกษา
ที่ | อาจารย์ผู้สอน | แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอน |
1 | ผศ. นภาพร หงส์ภักดี
|
|
ที่ | อาจารย์ผู้สอน | แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอน |
2 | นางสาวกมลพร นครชัยกุล
|
2.1 รายวิชาที่จัดการเรียนการสอนหลายกลุ่ม เช่น หลักการตลาด จะใช้ข้อสอบย่อย/การบ้าน/รายงานแบบเดียวกัน เพื่อให้ได้มาตรฐานเดียวกัน
2.2 เชิญวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถในด้านนั้นๆ มีชื่อเสียง มาบรรยายเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักศึกษา |
3 | นายณรงศักดิ์ ธงอาษา | 3.1 สอนโดยเน้นการฝึกปฏิบัติจริง เช่น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านการเงิน, ใช้เว็ปในการเทรดหุ้น, การทำโครงการ และการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปของตลาดหลักทรัพย์
3.2 ให้นักศึกษาส่งกระดาษที่บันทึกการเรียนในทุกคาบ เพื่อดูความเข้าใจในเนื้อหารายวิชา รู้จักสรุปใจความสำคัญ และเป็นการเช็คชื่อเข้าเรียนด้วย 3.3 ฝึกวินัยให้กับนักศึกษา โดยไม่อนุญาตให้นักศึกษาเข้าเรียนสาย หากนักศึกษารายใดเข้าเรียนสายจะบันทึกข้อมูลไว้เพื่อลงโทษต่อไป |
4 | นายฐิติ ราศีกุล | 4.1 สอนรายวิชาด้านการคำนวณมักจะพบปัญหาว่านักศึกษาแปลงเศษส่วนและเทียบบรรญัติไตรยางค์ไม่ได้ อาจารย์จะนำเทคนิคในการแปลงเศษส่วนและเทียบบรรญัติไตรยางค์มาสอนให้กับนักศึกษา
4.2 ยกตัวอย่างประกอบที่ใกล้ตัว เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจ/เห็นภาพได้ชัดเจน เช่น ผลิตภัณฑ์ที่นักศึกษาคุ้นเคย โฆษณาสินค้าในประเทศไทย ไม่ยกตัวอย่างสินค้าต่างประเทศ |
5 | นายวิญญู วีระนันทาเวทย์ | 5.1 ใช้โปรแกรม LATEX เพื่อจัดทำเอกสารประกอบการสอน, ง่ายต่อการเตรียมสอน, ง่ายต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา และสามารถปรับปรุงให้เป็นเอกสารประกอบการสอนประเภทอื่นๆ เช่น เอกสารคำสอน ตำรา
Note : สื่อการสอน Power Point ไม่น่าสนใจ นักศึกษาตามไม่ทัน ไม่เหมาะที่จะใช้เป็นสื่อการสอนในรายวิชาคำนวน |
6 | นางสายเพชร อักโข | 6.1 จัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการกับการบริการวิชาการ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้จากการเรียนไปประยุกต์ใช้จริงกับธุรกิจชุมชน และสามารถนำความรู้ไปแก้ปัญหาให้กับธุรกิจชุมชน |
7 | ผศ. สืบพงศ์ หงษ์ภักดี | 7.1 สอนตามวัตถุประสงค์รายวิชา/ Mapping โดยการนำวัตถุประสงค์รายวิชามาปรับเป็นกิจกรรมในรายวิชาเพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นต่อวิชาชีพ
7.2 สอนโดยพิจารณาความสามารถในการรับรู้ของนักศึกษา มีความยืดหยุ่นในเนื้อหารายวิชา |
ที่ | อาจารย์ผู้สอน | แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอน |
7 | ผศ. สืบพงศ์ หงส์ภักดี (ต่อ) | 7.3 มีการทดสอบก่อนเรียนเพื่อดูพื้นฐานของนักศึกษา และจัดทดสอบหลังเรียนเพื่อดูพัฒนาการของนักศึกษา
7.4 นักศึกษาสาขาการจัดการการโรงแรมส่วนใหญ่มีผลการเรียนในระดับปานกลางไปถึงเรียนไม่เก่ง แต่นักศึกษามีความสามารถในการทำกิจกรรม/เรียนภาคปฏิบัติได้ดี ดังนั้น ในรายวิชาจึงจัดให้มีคะแนนเก็บในการเรียนภาคปฏิบัติมากขึ้น 7.4 นักศึกษาสาขาการจัดการการโรงแรมส่วนใหญ่เรียนอ่อนในรายวิชาคำนวน หากเป็นไปได้หลักสูตรอยากปรับลด |
8 | ดร. นรา หัตถสิน | 8.1 จัดการเรียนการสอนแบบเคร่งครัด เพื่อให้นักศึกษามีความรับผิดชอบ มีวินัย ตระหนักถึงคุณค่าของเงินที่บิดา มารดาส่งเสียให้เรียน และเพื่อเรียนรู้โลกแห่งความจริงของการทำงาน |
9 | ดร. ธวมินทร์ เครือโสม | 9.1 จัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือ/เทคนิคเพื่อช่วยเพื่อน
โดยให้นักศึกษาที่มีผลการเรียนดี ปานกลาง อ่อนมาเข้ากลุ่มกัน เพื่อลดความแตกต่างทางความสามารถของนักศึกษา โดยนักศึกษาที่เรียนเก่งจะอธิบายบทเรียนให้นักศึกษาที่เรียนอ่อน (นักศึกษาอธิบายกันเองจะเข้าใจง่ายกว่าอาจารย์บรรยาย) ส่วนนักศึกษาที่เรียนอ่อนก็จะเรียนรู้จากนักศึกษาที่เรียนเก่ง |
10 | ดร. ธรรมวิมล สุขเสริม | 10.1 ใช้ Mind Map ในการบรรยาย โดยการบอกสาเหตุของสิ่งที่บรรยาย เชื่องโยงทฤษฎี สามารถเอาทฤษฎีมาแก้ไขปัญหาได้อย่างไร |
11 | ดร. สุมาลี เงยวิจิตร | 11.1 ใช้วิธีการสอนแบบ Project Base โดยให้นักศึกษาธุรกิจจริง (เลือกธุรกิจที่ยินยอมให้นักสึกาเรียนรู้และทดลองใช้แนวทางการแก้ไขปัญหาที่นักศึกษาเสนอแนะ) เพื่อให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์ และรายงานความคืบหน้า/อภิปรายในชั้นเรียน
11.2 ตอนสอนเนื้อหาด้านการคำนวนจะเปิดไฟล์ Excel เพื่อให้นักศึกษาเห็นสูตรในการคำนวนและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน |
12 | ดร. เพ็ญภัคร พื้นผา | 12.1 เรียนรู้/เข้าถึงนักศึกษา โดยการสอนให้สนุก ใช้ภาษาที่ง่าย
12.2 ออกข้อสอบเฉพาะเนื้อหาที่สำคัญ และใช้ตัวเลขหลัก 10, 100,1000, 10000 เพื่อให้นักศึกาคำนวนได้ง่าย 12.3 สอนแบบมีบทนำ เนื้อหา สรุป 12.4 ทำให้ผู้เรียนมีความเชื่อมั่นต่อผู้สอน |
13 | นางสาวใจแก้ว แถมเงิน | 13.1 ก่อนสอนจะตรวจดู GPA ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา |
ที่ | อาจารย์ผู้สอน | แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอน |
13 | นางสาวใจแก้ว แถมเงิน (ต่อ) | 13.1.1 ถ้ามีนักศึกษาที่มี GPA อยู่ในกลุ่มเสี่ยงจำนวนมาก จะมอบหมายงานให้นักศึกษาสรุปบทเรียนทุกบทส่งอาจารย์ เพื่อให้นักศึกษาได้ทบทวนบทเรียน
13.1.2 ปรับโครงสร้างคะแนน ให้มีสัดส่วนของคะแนนเก็บมากขึ้น |
14 | ดร. รชยา อินทนนท์ | 14.1 สอนรายวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ ซึ่งจะชี้แจงธรรมชาติของรายวิชา/วิธีการสอน/แนวทางการเรียนให้ได้ผลและเข้าใจง่าย โดยจะให้นักศึกษาเรียนรู้จากสื่ออื่นๆประกอบ เช่น ใน Youtube, กรณีศึกษาอื่นๆ |
15 | ดร.กฤตยา อุทโธ | 15.1 ปรับสื่อการสอนจากเดิม Power Point เป็น บรรยายไปเขียนไป เพื่อให้นักศึกษาสนใจสื่อการสอนมากขึ้น
15.2 ตัดเนื้อหารายวิชาที่ไม่สำคัญออก (ไม่บรรยายให้นักศึกษาศึกษาด้วยตนเอง) |
- สรุปความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีในการลดอัตราการตกออกของนักศึกษา จากผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 15 คน
1) รายวิชาคำนวณให้สอนเป็น Step
2) ชี้แจงเกณฑ์การให้คะแนน/โครงสร้างคะแนนอย่างชัดเจน
3) วิเคราะห์พื้นฐานนักศึกษา และจัดการเรียนการสอนตามพื้นฐานของนักศึกษา หรือให้นักศึกษาที่เรียนเก่ง ปานกลาง อ่อน เข้ากลุ่ม เพื่อช่วยเหลือกัน
4) จัดกิจกรรม/มอบหมายงานให้นักศึกษาเรียนรู้และศึกษาด้วยตนเอง