browser icon
You are using an insecure version of your web browser. Please update your browser!
Using an outdated browser makes your computer unsafe. For a safer, faster, more enjoyable user experience, please update your browser today or try a newer browser.

เก็บตกจากหลักสูตรการเสริมทักษะการวินิจฉัยสถานประกอบการ

Posted by on 4 พฤศจิกายน, 2015

จากการเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตรการเสริมทักษะการวินิจฉัยสถานประกอบการ เมื่อวันที่ 22-25 ตุลาคม 2558 มีเนื้อหาสาระมาแบ่งปันดังนี้
ความหมายของการวินิจฉัย (Shindan) หมายถึง การสำรวจสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการองค์กรทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย1. ผู้บริหารและการบริหาร 2. การตลาดและการขาย 3. การผลิตและการจัดหา 4. ทรัพยากรบุคคล 5. บัญชีและการเงิน เพื่อทำการวิเคราะห์สะท้อนภาพที่แท้จริงขององค์กรทั้ง 5 ด้าน และเพื่อระบุสาเหตุที่เป็นปัญหาของการบริหารจัดการองค์กรด้านต่างๆ พร้อมทั้งนำเสนอกลยุทธ์หรือหลักการบริหารสำหรับการแก้ไขปัญหาเบื้องต้น
การวินิจฉัยภาพรวมธุรกิจ เป็นการสำรวจสภาพปัจจุบันทุกด้านภายใต้แนวทางการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง Performance& System เพื่อประมวลข้อมูลทั้งหมดทำการสรุปสาระปัญหาสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อการบริหารจัดการธุรกิจ
หลักการพื้นฐานและแนวคิดที่สำคัญการวินิจฉัย (3Gen หรือ 3 จริง)
1. GENBA สำรวจสถานที่จริง โดยการลงพื้นที่จริงให้ได้มาซึ่งข้อมูลเพื่อใช้วิเคราะห์
2. GENBUTSU การวิเคราะห์ของจริง เป็นการเก็บข้อมูลจากสถานที่จริง วิเคราะห์บนพื้นฐานความเป็นจริงมิใช่จากจินตนาการของผู้วิเคราะห์
3. GENJITSU การรรับรู้สภาพจริง ไม่ใช่เป็นเพียงสรุปจากรายงานบริษัทหรือหน่วยงานจัดทำขึ้น ต้องเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลของนักวินิจฉัยเอง
ในการวิเคราะห์สถานการณ์การตลาด เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่
1. การวิเคระห์สภาพแวดล้อมทั่วไป- PEST
2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการแข่งขัน- 5 Forces Analysis
3. การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค SWOT Analysis
การวิเคระห์สภาพแวดล้อมทั่วไป- PEST
P = Political ปัจจัยทางการเมืองและกฎหมาย การออกกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ที่กระทบการดำเนินธุรกิจด้านบวกและลบ เช่น ระบอบการปกครอง สถานการณ์ทางการเมือง นโยบายภาครัฐ ประเทศเพื่อนบ้าน การก่อการร้าย
E= Economics ปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น สถานการณ์ทางการค้า ทั้งในและต่างประเทศ สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเงิน ค่าครองชีพ ภาษี
S= Sociocultural ปัจจัยางสังคมและวัฒนธรรม เช่น ความเชื่อ ศาสนา ทัศนคติเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ภาษา ชีวิตความเป็นอยู่ อายุ สิ่งแวดล้อม การใช้แรงงาน สื่อ การศึกษา
T=Technology ปัจจัยทางเทคโนโลยีมีส่วนสำคัญทำให้เกิดความได้เปรียบการแข่งขัน เช่น การผลิต การจำหน่าย นวัตกรรม การสื่อสาร การถ่ายทอดเทคโนโลยี

ใส่ความเห็น