browser icon
You are using an insecure version of your web browser. Please update your browser!
Using an outdated browser makes your computer unsafe. For a safer, faster, more enjoyable user experience, please update your browser today or try a newer browser.

การสร้างแบรนด์เพื่อความยั่งยืน (Sustainable Brands)

Posted by on 10 มีนาคม, 2016

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2559 ที่ผ่านมา สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการในวันนักการตลาด…สัญจร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ 8: A Springboard to Sustainable Success ณ โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น โดยมีวิทยากร คือ ดร.ศิริกุล เลากัยกุล Brand Strategist & Principal Consultant at The Brandbeing Consultant Co.,Ltd. วิทยากรบรรยายหัวข้อ Sustainable Brands พัฒนาและขับเคลื่อนแบรนด์ของเราไปสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืน” ได้กล่าวถึงลักษณะพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ปัจจุบันเป็นโลกของความโปร่งใส (Transparency) ทุกอย่างไม่สามารถปิดบังซ่อนเร้นได้อีกต่อไป เพราะผู้บริโภคสามารถลุกขึ้นมาเป็นสื่อ (Media) ได้ด้วยตนเอง โดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวก จะเห็นได้จากพฤติกรรม การถ่ายรูปและ Share ใน Social media อย่างแพร่หลาย ส่งผลให้อนาคตของการประกอบธุรกิจไม่เป็นอย่างที่เคยเป็นมาก่อน โดยลักษณะสำคัญของพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันและอนาคตมีดังนี้

1. Personalization ผู้บริโภคแสวงหาคำว่า สำหรับ “ฉัน” มีความต้องการความพิเศษเฉพาะตน
2. Culture of Sharing ผู้บริโภคต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ชอบการแบ่งปันและเรียกร้องความสนใจ
3. Self-Improvement ผู้บริโภคมีความต้องการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ต้องการดูดีในสายตาผู้อื่น ดังนั้นการเปลี่ยนโฉม การเสริมความงามจึงเป็นเรื่องธรรมดา ไม่ต้องปกปิดอีกต่อไป
4. Co-Creation ผู้บริโภคชอบมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สินค้าและแบรนด์
5. Global Social Conscience ผู้บริโภคจะใส่ใจแบรนด์ที่ใส่ใจโลก แบรนด์ที่สร้างความยิ่งใหญ่ คำนึงถึงแต่ผลกำไร จะไม่มีใครรักและชื่นชอบ

Brand คือชื่อเสียง ที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือบริการเท่านั้น แต่ยังมีความหมายรวมถึงคุณภาพของคนในองค์กรและอัตลักษณ์ขององค์กรด้วย ซึ่งการพัฒนาอย่างยั่งยืนควรประกอบด้วย 3Ps ได้แก่ Profit, People and Planet และการสร้างแบรนด์ให้ยั่งยืน (Sustainable Brand) นั้น จะต้องคำนึงถึงตั้งแต่การเลือกวัสดุ, กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และคำนึงถึงผลกระทบระหว่างและหลังการใช้งานอีกด้วย และวิทยากรได้ทิ้งท้ายไว้ด้วยเรื่องของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารธุรกิจอย่างยั่งยืนว่า เมื่อเราสามารถสร้างแบรนด์อย่างพอเพียงแล้วเราจะมีความสามารถในการแข่งขันที่ไม่แพ้ภัยตัวเอง ไม่เอาเปรียบสังคม ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันที่ “ยั่งยืนกว่า”

ใส่ความเห็น