Control Self Assessment (CSA) เป็นเครื่องมือประเมินระบบการควบคุมภายในโดยตนเองที่นำมาใช้ในปัจจุบัน โดยยึดหลักที่ว่าผู้ปฏิบัติงานย่อมรู้ข้อผิดพลาดและระบบงานที่อาจไม่สามารถควบคุมความเสี่ยงได้ ดังนั้นการนำ CSA มาใช้ในองค์กรปัจจุบันจึงเป็นที่นิยม และสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value) ให้กับองค์กร แต่อย่างไรก็ตามการนำวิธีการการ CSA ก็เหมือนกับดาบ 2 คม นั่นคือ หากผู้ปฏิบัติงานไม่เข้าใจและไม่กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น หรือความเป็นจริงที่อาจจะเกิดจากการกลัวความผิดพลาดในอดีต หรือบทลงโทษที่อาจจะเกิดขึ้น ทำให้ไม่กล้าแสดงข้อมูลหรือความคิดเห็นที่จะเป็นประโยชน์ในแง่การควบคุมภายใน ดังนั้น สิ่งแรกที่ผู้บริหารหน่วยงายต้องเข้าใจและสร้างบรรยากาศและนโยบายที่แสดงให้เห็นว่าการให้ความร่วมมือถือเป็นผลการพิจารณาผลงานของบุคลากร เพื่อแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการนำ CSA มาใช้ได้ชัดเจนมากขึ้นจึงขอแสดงเป็นรูปภาพประกอบดังนี้
Control Self-Assessment MODEL
จากรูปภาพแสดงรูปแบบการนำทฤษฎีหลักการควบคุมภายในและการดำเนินธุรกิจมาผสมผสานจนทำให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของธุรกิจที่วางไว้ ภายใต้หลักการควบคุมภายใน 5 องค์ประกอบหลักตามแนวคิดของ COSO นั่นคือ CRIME ซึ่งจากองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการนำ CSA มาใช้นั่นคือการสร้างสภาพแวดล้อมในองค์กร การบริหารจัดการองค์กรด้วยหลักความเสมอภาคและทุกคนในองค์กรสามารถแสดงความคิดและแนวทางการป้องกัน เพื่อให้กิจการสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผล ดังนั้นภายใต้สภาวะการดำเนินงานของกิจการ การควบคุม Soft control หรือการควบคุมจากมนุษย์จึงเป็นหัวใจสำคัญของการควบคุม
การนำ CSA มาใช้สามารถประเมินจากตัวชี้วัดของผู้ปฏิบัติงาน โดยวัดจากการเกิดประสิทธิผลของการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์มากที่สุดบนพื้นฐานของการปฏิบัติงานและการกำกับดูแลให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับขององค์กร การจะทำให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้นต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่าง รวมถึงการติดตามการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามคู่มือ ระเบียบการปฏิบัติงาน (Function) และได้มีการประเมินการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ (Present) ว่าสิ่งที่กำหนดไว้สำรับการควบคุมภายในนั้นสามารถทำงานได้จริงและเกิดประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้