browser icon
You are using an insecure version of your web browser. Please update your browser!
Using an outdated browser makes your computer unsafe. For a safer, faster, more enjoyable user experience, please update your browser today or try a newer browser.

บทบาทของมหาวิทยาลัยในการสร้างคนเพื่อร่วมขับเคลื่อนโมเดลประเทศไทย 4.0

Posted by on 13 กันยายน, 2016

จากการเข้าประชุมและสรุปจากศาสตรจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน ท่านได้กล่าวว่า

สภาพปัจจุบันและปัญหาของประเทศไทย พบว่า สภาพปัจจุบันของประเทศไทย ประชากรมีรายได้ระดับปานกลาง สังคมมีความเลื่อมล้ำสูง  มีการทุจริตคอรัปชั่นมาก และมีความขัดแย้งที่รุนแรง  ในขณะที่ปัญหาของประเทศไทย คือ ทุนมนุษย์อ่อนด้อย  ทุนสังคมอ่อนแอ ทุนธรรมชาติเสื่อมโทรม และทุนจริยธรรมเสื่อทราม ดังนั้นจะต้องพยายามเร่งขจัดปัญหาเพื่อปฏิรูปประเทศไทยสู่อนาคตที่ท้าทายในช่วง 20 ปีข้างหน้า ดังนั้นกรอบยุทธศาสตร์ชาติสภาปฏิรูปแห่งชาติจึงต้องเน้น การเปลี่ยนผ่านประเทศในโลกที่หนึ่ง โดยมีการกระจายความมั่นคง มีรายได้สูง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันกรอบอีกด้านคือการใช้โมเดลประเทศไทย 4.0 โดยเน้นให้ประเทศรายได้สูง ให้ความสำคัญกับคลัสเตอร์อุตสาหกรรมหลัก  และขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

บทบาทของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

1.สร้างคน

2.สร้างความรู้

3.สร้างนวัตกรรม

การรุกรับ ปรับตัวของมหาวิทยาลัยเพื่อร่วมขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0

ด้านการสร้างคน (ทุนมนุษย์)

1.สร้างแรงงานความรู้ ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน  พร้อมทำงานทันทีเมื่อสำเร็จการศึกษา และเสริมคุณภาพบัณฑิตโดยให้ปฏิบัติสหกิจศึกษาในสถานประกอบการเต็มเวลาไม่น้อยกว่า 4 เดือนในสถานประกอบการก่อนสำเร็จการศึกษา

2.สร้างความรอบรู้ด้านการเป็นผู้ประกอบการแลลครบวงจรในลักษณะ Co-creation และ Collaboration ระหว่างมหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการ และภาคีที่เกี่ยวข้องทั้งด้านหลักสูตร การสอน การลงทุน การสร้าง star Up และ Eco-System สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการที่ฉลาดหลักแหลมทั้งในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา

3.การสร้างคนเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากการกล้าคิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อให้การสร้างคนตรงกับความต้องการของคลัสเตอร์อุตสาหกรรมหลักและสนองตอบต่อความต้องการของคนรุ่นใหม่ Gen Y และ Z ที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประชาคมโลกและของประเทศไทย ทั้งในฐานะลุกค้าและผู้ประกอบการรุ่นใหม่

ใส่ความเห็น