จากการที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมประชุมเรื่อง “การพัฒนาหลักสูตรบัญชีตามาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทส IES : International Education Standard ได้ข้อสรุปดังนี้
ประกาศสภาวิชาชีพจำนวน 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 75-77 มีรายละเอียดสรุปดังนี้
- การรับรองหลักสูตรใหม่หรือหลักสูตรปรับปรุงใหม่ที่มีผลใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป จะพิจารณาเฉพาะหลักสูตรที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี) และได้รับการรับรองคุณวุฒิเทียบเท่าปริญญาตรีจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยหลักสูตรจะต้องส่งเล่มหลักสูตรพร้อมแบบฟอร์มการรับรองหลักสูตรตาม IES ฉบับที่ 2-4
ฉบับที่ 2
ว่าด้วยการพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก –ความรู้ความสามารถเชิงเทคนิค |
46 ผลการเรียนรู้ |
ฉบับที่ 3
ว่าด้วยการพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก –ทักษะทางวิชาชีพ |
24 ผลการเรียนรู้ |
ฉบับที่ 4
ว่าด้วยการพัฒนาทางวิชาชีพระยะเริ่มแรก –ค่านิยม จริยธรรมและทัศนคติทางวิชาชีพ |
12 ผลการเรียนรู้ |
รวมทั้งสิ้น | 82 ผลการเรียนรู้ |
โดยจะใช้สำหรับหลักสูตรใหม่หรือหลักสูตรปรับปรุงที่สภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลังวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2560 นอกจากนั้นหลักสูตรฯ จะต้องนำเอารายละเอียดผลการเรียนรู้ว่าจะสอดคล้องในรายวิชาบังคับไม่น้อยกว่า 2 รายวิชาในแต่ละผลการเรียนรู้
นอกจากนั้นทีประชุมได้มีการอภิปรายกันในเรื่อง การนำผลการเรียนรู้ไปวางไว้ในภาคผนวกท้ายเล่มหลักสูตร (มคอ.๒) หรือนำผลการเรียนรู้ไปไว้ท้ายคำอธิบายรายวิชา ของทุกวิชาที่เกี่ยวข้อง โดยประธานขอให้ใช้ทางเลือกที่ 2 คือ ให้เขียนผลการเรียนรู้ไว้ท้ายคำอธิบายรายวิชาของทุกรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. 2560 ไม่ต้องปรับปรุง เนื่องจากสภามหาวิทยาลัยอุบลฯ ได้อนุมัติหลักสูตรและอยู่ในระหว่างส่งไปสกอ.รับทราบแล้ว
- เมื่อสภาวิชาชีพฯรับรองหลักสูตรแล้ว บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรนั้น ๆ สามารถสมัครเป็นสมาชิกสามัญและผ่านคุณสมบัติเพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้
- ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาอื่นและสำเร็จสาขาการบัญชีในระดับที่สูงกว่าปริญญาตรีที่สภาวิชาชีพบัญชีรับรองแล้ว แต่ต้องมีคุณสมบัติคือ เคยศึกษาและสอบผ่านวิชาการบัญชีในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต (รายวิชาดังกล่าวนับรวมทุกระดับที่ได้ศึกษา)
- การรับรองปริญญาเทคโนโลยีบัณฑิต(การบัญชี) ของสถาบันการอาชีวศึกษาสามารถเป็นสมาชิกสามัญได้โดยที่ผู้สำเร็จการศึกษาจะต้องศึกษาและสอบผ่านในระดับปริกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือระดับปริญญาตรีต่อเนื่องจากประกาศนียวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยผ่านรายวิชาคือ การบัญชีขั้นกลาง 2 รายวิชา การบัญชีขั้นสุง 2 รายวิชาชีพ การบัญชีต้นทุน 1 รายวิชา การภาษีอากร 1 รายวิชา รวม 6 รายวิชา