browser icon
You are using an insecure version of your web browser. Please update your browser!
Using an outdated browser makes your computer unsafe. For a safer, faster, more enjoyable user experience, please update your browser today or try a newer browser.

Innovative Startup

Posted by on 31 มีนาคม, 2017

Innovative Startup:

จากการเข้ารับการสัมมนาเรื่อง “Innovative Startup” ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ Start Up ในวันที่ 26-27 มี.ค. 2560 ขอสรุปดังนี้

ธุรกิจ Start Up คือ ‘Startup’ คือการเริ่มต้นธุรกิจเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด มีวิธีสร้างรายได้ที่สามารถหาเงินแบบทำซ้ำและขยายได้ง่ายนั่นเอง ส่วนใหญ่จะเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือเห็นโอกาสที่ยังไม่มีใครเคยเห็น เช่น แอพพลิเคชั่นเคลมประกันเมื่อเกิดอุบัติเหตุด้วยตัวเอง แอพพลิเคชั่นรวมที่จอดรถ เป็นต้น

ประเภทของผู้ประกอบการ Start Up

ในวงการนักลงทุนที่เรียกว่า Venture Capital ได้มีการกำหนดชื่อเรียกลำดับขั้นของธุรกิจ Startup โดยแบ่งตามมูลค่าประเมินไว้อย่างน้อย 3 ขั้น ได้แก่ ยูนิคอร์น, เซนทอร์ และ ลิตเติ้ลโพนี่ (หรือลูกม้าจิ๋วน่ารักๆ) และ เดคาคอร์น

Unicorn (ยูนิคอร์น) คือตัวแทนของ StartUp ที่มีมูลค่ามากกว่า $1,000 ล้าน หรือ billion dollar ซึ่งในปัจจุบัน (Jan 2017) มี 3 บริษัทที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ Garena (Singapore) มูลค่า $3.75 พันล้าน

Grab (จดทะเบียน Singapore ผู้ก่อตั้งเป็น Malaysia) มูลค่า $3 พันล้าน Go-Jek (Indonesia) $1.3 พันล้าน

Centaur (เซนทอร์) ครึ่งคนครึ่งม้า ซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดคือแปลงกลายเป็นม้ายูนิคอร์นเต็มตัว พวกเขาคือตัวแทน StartUp ที่มีมูลค่ามากกว่า $100 ล้าน ประเทศไทยเรามี Ookbee ที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้แล้ว

My Little Pony (ลิตเติ้ลโพนี่) หรือ MLP ซึ่งตัวย่อนี้อาจมองอีกแง่ก็คือ StartUp ต้องมี Minimum Lovable Product ถึงจะอยู่รอดได้รองลงมาอีก Dave McClure แห่ง 500 Startups เรียก StartUp ที่มีมูลค่ามากกว่า $10 ล้านแต่ยังไม่ถึง $100 ล้าน

Decacorn (เดคาคอร์น) สำหรับ StartUp ที่มีมูลค่ามากกว่า $10,000 ล้าน เช่น Xiaomi, Airbnb, Snapchat, Flipkart, SpaceX, Pinterest, และ Dropbox เป็นต้น

รูปแบบการทำกำไรของ Start Up สิ่งที่สำคัญ คือ Business (Lean) Canvas Model ข้อมูลต้องแน่น product ต้องขายได้ เกิดการซื้อซ้ำ แต่ที่สำคัญ งานวิจัยกล่าวว่า Start up กว่า 90% failed ผปก.ต้องเรียนรู้จากความล้มเหลวและต้องลุกให้เร็ว ใครลุกและรุกได้เร็วจึงจะสามารถเป็น Unicorn ได้ในที่สุด ดังนั้น Business lean Canvas Model จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการวิเคราะห์ และนำเสนอรูปแบบธุรกิจที่เหมาะสมสำหรับ Start Up แต่ละรายได้เป็นอย่างดี   โดยหาก Start Up มี Lean Canvas Model ที่เข้มแข็งแล้ว จะสามารถนำไปสู่การ Pitching ที่สมบูรณ์แบบ ในที่สุด

การสร้าง Lean Canvas Model สามารถประยุกต์ใช้กับธุรกิจประเภท Start Up ได้ โดยแยกเป็น 2 ฝั่งคือ สินค้าค้า และตลาด

 

ฝั่งสินค้า (Product) ฝั่งตลาด (Market Side)
1. ปัญหา (Problem)

อย่าเสียเวลาไปกับการทำสินค้าที่ไม่ตอบโจทย์ผู้บริโภคอยู่อีกหรือ? ไม่ว่าจะสัมภาษณ์ ทดสอบหรือทำแบบสอบถาม ก็ถือว่าได้แก้ปัญหาของผู้บริโภคไปครึ่งหนึ่งแล้ว แค่เข้าใจปัญหา ความต้องการ ความท้าทายของผู้บริโภคก่อน  จากนั้นค่อยพัฒนาสินค้าจากความเข้าใจ

1. ความได้เปรียบเหนือชั้น (Unfair Advantage)

คือความได้เปรียบเมื่อสตาร์ทอัพของเราต้องแข่งกับสตาร์ทอัพเจ้าอื่นๆ  ไม่ใช่ทุกความได้เปรียบต้องมาจากทรัพยากรที่เรามีเพียงอย่างเดียว และคู่แข่งนั้นไม่ใช่คนที่ “เรา” คิดว่าเป็นคู่แข่ง แต่เป็นคนที่ “ลูกค้า” คิดว่าเป็นคู่แข่ง

 

2. ทางแก้ (Solution)

เพราะผู้บริโภคไม่ได้ซื้อสินค้า แต่ซื้อทางแก้ไขปัญหาที่เราทุกคนต้องการพัฒนามัน รวมไปถึงสิ่งที่เราต้องทำและทรัพยากรที่เราต้องใช้เพื่อพัฒนาวิธีแก้ไขปัญหานั้น

 

2. ช่องทางติดต่อลูกค้า (Channel)

สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าด้วย เช่นการสัมภาษณ์และการสังเกตลูกค้า ต้องเข้าใจลูกค้า สินค้าและบริการ ก่อนที่จะกำหนดช่องทางที่ลูกค้าติดต่อได้และใช้สินค้าและบริการ เช่นสื่อสังคมออนไลน์ เว็บไซด์ อีเมล โฆษณา ปากต่อปากเป็นต้น

3. ตัวชี้วัดสำคัญ (Key Metrics)

มุ่งไปที่ตัวชี้วัดตัวเดียวสำหรับสินค้าและบริการที่เรามีเท่านั้น จะได้เอาเวลาและทรัพยากรที่มีไปทำอย่างอื่นที่สำคัญกว่าการวัดค่า ตัวชี้วัดนั้นต้องสะท้อนได้ว่ากิจการของเราประสบความสำเร็จหรือไม่ มีโอกาสพัฒนากิจการต่อไปหรือไม่ด้วย

 

3. กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Customer Segment)

เราสร้างคุณค่าเพื่อใคร? ใครที่เราคิดว่าเขาจะได้ประโยชน์จากสินค้าของเรามากที่สุด มีลูกค้าแค่กลุ่มเดียว หรือมีความหลากหลายตามเพศ อายุ การเรียน การทำงาน ที่อยู่อาศัย ลักษณะการใช้ชีวิต ฯลฯ เราตอบโจทย์ทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย หรือตลาดเป็นกลุ่มเล็กๆ ระบุกลุ่มลูกค้าให้ชัดเจน

4. โครงสร้างต้นทุน (Cost Structure)

บทสรุปของค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนคงที่ เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าออฟฟิศ ต้นทุนผันแปร เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าส่งเอกสาร ต้นทุนผลิตมากแล้วถูกลง เช่น แผ่นพับหรือแฟ้มของธุรกิจที่ต้องใช้เวลาไปพบฝ่ายจัดซื้อ หรือต้องไปวางที่งานแสดงสินค้าบ่อยๆ และต้นทุนซื้อรวมกันแล้วถูกลง ที่ควรสั่งจากซัพพลายเยอร์เจ้าเดียวกันเพื่อลดต้นทุน

4. กระแสรายได้ (Revenue Stream)

ไม่ว่าจะมาจากการขายสินค้า ค่าสมาชิก ค่ายืมหรือค่าเช่า ค่าอนุญาตให้ใช้สิทธิ์ ค่าธรรมเนียม และค่าโฆษณา การพิจารณารายได้ในแต่ละส่วนช่วยกำหนดทิศทางในการสร้างมูลค่า และปรับปรุงระบบงานเพื่อให้นำเสนอสิ่งที่คุ้มค่ากับที่กลุ่มลูกค้ายินดีที่จะจ่าย

 

 

ใส่ความเห็น