browser icon
You are using an insecure version of your web browser. Please update your browser!
Using an outdated browser makes your computer unsafe. For a safer, faster, more enjoyable user experience, please update your browser today or try a newer browser.

แนวปฏิบัติที่ดีการปรับปรุงหลักสูตร คณะบริหารศาสตร์

Posted by on 20 กรกฎาคม, 2017

แนวปฏิบัติที่ดีการปรับปรุงหลักสูตร คณะบริหารศาสตร์

ด้านกระบวนการปรับปรุงหลักสูตรด้าน กระบวนการปรับปรุงหลักสูตร
1. มีการแบ่งงานกันทำ
2. มีการติดตามงานอย่างใกล้ชิด
3. ปรับปรุงหลักสูตร ตาม มคอ.1/สภาวิชาชีพ (ถ้ามี)
4. มีการวิจัยหลักสูตร 1 ชุด เพื่อศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย เช่น ผู้ใช้บัณฑิต     บัณฑิต สภาวิชาชีพ
5. มีการติดตามความคืบหน้าในการเสนอเล่มหลักสูตรเป็นลายลักษณ์อักษร     ไปยังงานพัฒนาหลักสูตร และ สกอ.

ด้าน เนื้อหาของหลักสูตร
1. หลักสูตรพิจารณาเลือกผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อเสนอแนะในการพิจารณาหรือพัฒนาหลักสูตร หรือผู้ใช้บัณฑิต ที่เป็นผู้บริหารในองค์กรระดับประเทศ เนื่องจากบุคคลเหล่านั้น ทราบทิศทางและแนวโน้มของการพัฒนาประเทศและวิชาชีพ
2. นำผลการวิจัย และข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตร โดยพิจารณาปัจจัยภายนอกร่วมด้วย อาทิ นโยบายการพัฒนาประเทศ สภาวะเศรษฐกิจ สภาพสังคม ความคิดเห็นของอาจารย์พิเศษ รายงานวิจัยหลักสูตรในปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร รวมถึงหลักการและเหตุผลในการปรับปรุงหลักสูตร
3. การเขียนเหตุผลและความจำเป็นในการปรับปรุงหลักสูตร ให้ระบุว่าหลักสูตรสามารถผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองต่อความต้องการและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
4. คำอธิบายรายวิชาภาษาอังกฤษและภาษาไทยต้องมีความสอดคล้องกัน และเขียนเฉพาะหัวข้อของเนื้อหาการเรียนรู้
5. คุณสมบัติของอาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558
6. ผู้นำเสนอหลักสูตร ต้องมีความแม่นยำในเนื้อหา มคอ. 2 และยึดมั่นในคุณลักษณะเฉพาะทางวิชาชีพ เพื่อที่สามารถอธิบายต่อคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรของสภามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้อย่างแม่นยำ
7. นำเป้าหมายในการผลิตบัณฑิต/อาชีพของบัณฑิต เป็นตัวกำหนดรายวิชา เนื้อหาการเรียนรู้ของรายวิชา และจัดทำคำอธิบายรายวิชา

ด้าน ทิศทางของหลักสูตร
1. มีเป้าหมายในการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อผลิตบัณฑิตไปประกอบอาชีพที่สนองต่อความต้องการและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจน ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
2. รายวิชาในหลักสูตรต้องสอดคล้องกับเป้าหมายในการปรับปรุงหลักสูตร

One Response to แนวปฏิบัติที่ดีการปรับปรุงหลักสูตร คณะบริหารศาสตร์

ใส่ความเห็น