browser icon
You are using an insecure version of your web browser. Please update your browser!
Using an outdated browser makes your computer unsafe. For a safer, faster, more enjoyable user experience, please update your browser today or try a newer browser.

แนวทางการหาฉันทามติ (Consensus) ของชุมชนเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน โดยมีทีมที่ปรึกษาจากภาคการศึกษา

Posted by on 4 พฤษภาคม, 2019

การหาฉันทามติ (Consensus) เป็นกลไกที่สำคัญในการกระตุ้นผลักดันการพัฒนาของชุมชนมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจและประเมินศักยภาพของชุมชนและนำไปสู่การคัดเลือกผู้ประกอบการในชุมชนในกลุ่มผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีศักยภาพ โดยทั่วไปจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1.การเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับชุมชน เช่น ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกเทศบาล ประธานหรือผู้นำกลุ่มผลิตภัณฑ์หรือบริการ เป็นต้น เพื่อระดมสมองในการค้นหาศักยภาพ ปัญหาหรือข้อจำกัดของชุมชน ตลอดจนแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน

          2.จัดเวทีประชาคมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) หาฉันทามติในชุมชน โดยมีการชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนา การจัดกระบวนการเพื่อให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสมาชิกชุมชนร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพชุมชม ระดมความคิดเห็น และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาฯ ร่วมกัน ตลอดจนร่วมกันเสนอรูปแบบและแผนกิจกรรมที่จะดำเนินการพัฒนา ตามด้วยการลงฉันทามติในการเข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบที่กำหนด และท้ายที่สุดชุมชนต้องช่วยกันคัดเลือกผลิตภัณฑ์หรือบริการของชุมชนที่จะร่วมกันพัฒนาทั้งนี้ผลิตภัณฑ์หรือบริการของชุมชนที่ถูกคัดเลือกนั้นต้องมีการระบุชื่อผู้ประกอบการที่ชัดเจน

          3.การกำหนดแผนและการนัดหมายเพื่อเข้าให้ที่ปรึกษาเข้าให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการชุมชนที่ได้รับคัดเลือก

          จากกระบวนการทั้ง 3 กระบวนการข้างต้น ทีมที่ปรึกษามีความคาดหวังว่ากระบวนการในการหาฉันทามติจะเป็นกระบวนการกลุ่มที่ทำให้ชุมชนและผู้เกี่ยวข้องได้เรียนรู้เกี่ยวกับศักยภาพของตัวเองร่วมกันอย่างรอบด้านผ่านกระบวนการวิเคราะห์ชุมชนร่วมซึ่งโดยทั่วไปจะมีการ สนทนากลุ่ม (Focus group) หรือจัดเวทีอภิปราย โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า SWOT Analysis เพื่อให้ชุมชนค้นหาและตระหนักในจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ของชุมชนเอง เพื่อนำไปสู่ความเป็นหนึ่งเดียวกันในแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนที่สอดคล้องกับศักยภาพของชุมชน เนื่องจากแต่ละชุมชนจะมีศักยภาพแตกต่างกันไปทั้งด้านทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน ทุนทางสังคมวัฒนธรรม เป็นต้น ทั้งนี้กระบวนการฉันทามติจะมีลักษณะเห็นชอบร่วมกันจากผู้มีส่วนรวมทุกคน และได้รับการสนับสนุนจากทุกๆฝ่าย ซึ่งอาจมีทั้งกลุ่มที่พอใจมากหรือกลุ่มที่พอรับได้ หรือแม้กระทั่งกลุ่มที่อาจจะไม่พอใจแต่จะให้ความร่วมมือในแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนตามผู้เกี่ยวข้องฝ่ายต่างๆและสมาชิกชุมชนได้ลงฉันทามติแล้ว

สุขวิทย์ โสภาพล

4 พ.ค. 2562

ใส่ความเห็น