browser icon
You are using an insecure version of your web browser. Please update your browser!
Using an outdated browser makes your computer unsafe. For a safer, faster, more enjoyable user experience, please update your browser today or try a newer browser.

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นคืออะไรหนอ

Posted by on 9 กันยายน, 2012

งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น (Community- base research) ถือว่าเป็นงานของคนท้องถิ่น เพื่อคนท้องถิ่น ดังนั้นการวิจัยท้องถิ่นจะต้องเน้นให้ชาวบ้านเป็นผู้ระบุปัญหาด้วยตนเอง เป็นผู้ลงมือทำงานวิจัยด้วยตนเอง โดยมีพี่เลี้ยง มีผู้ประสานงาน มีนักวิชาการมาร่วมกันทำงานวิจัย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเพิ่มพลังปัญญา ร่วมกันทั้งคนนอก (พี่เลี้ยงนักวิจัย นักวิชาการและ ผู้ประสานงาน ) และคนในท้องถิ่น กล่าวคือมีลักษณะของการวิจัยแบบมีส่วนร่วม(Participatory Action Research)นั่นเอง ที่สำคัญต้องพยายามสร้างทีมงานวิจัยในพื้นที่เพื่อรวบรวมข้อมูล วางแผนดำเนินงาน การวิเคราะห์และทดลองปฎิบัติ และทางเลือกในการจัดการต่างๆเพื่อนำไปแก้ปัญหาของชุมชนท้องถิ่นด้วยชุมชนท้องถิ่นเอง โดยมีขั้นตอนการทำงานวิจัยที่แบ่งได้เป็น3 ระยะ คือ ระยะที่ 1. การเตรียมการ เตรียมชุมชน  เป็นระยะการเข้าสู่ชุมชน โดยมีการคัดเลือกชุมชน กลุ่ม ประเด็น ปัญหา ที่จะทำงานวิจัย และสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนทุกกลุ่ม  ระยะที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย เป็นขั้นตอนที่ต้องมีการเก็บข้อมูลด้านเอกสาร การศึกษาบริบทชุมชน การวิเคราะห์ปัญหาของชุมชนอย่างเป็นระบบ เพื่อพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของวิธีการที่จะนำมาแก้ปัญหา รวมถึงการบริหารจัดการเกี่ยวกับผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา งบประมาณที่ต้องใช้ ตลอดจนการติดตามประเมินผลแตละขั้นตอน ระยะที่ 3 การสรุปผลและเขียนรายงานการวิจัย ซึ่งต้องอาศัยการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ  มีการประชุมสรุปงานทุกครั้ง (สินธุ์ สโรบล, ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม, กาญจนาแก้วเทพ และกาญจนา ทองทั่ว. 2552) จากหนังสือ ลีลาวิจัยไทบ้าน : ถอดบทเรียน ประสบการณ์ คน ทำงานวิจัยท้องถิ่น เขียนโดย กาญจนา ทองทั่ว

ใส่ความเห็น