browser icon
You are using an insecure version of your web browser. Please update your browser!
Using an outdated browser makes your computer unsafe. For a safer, faster, more enjoyable user experience, please update your browser today or try a newer browser.

เกร็ดความรู้เรื่องการเขียนบทความวิจัยและการขอตำแหน่งทางวิชาการ

Posted by on 2 พฤศจิกายน, 2012

เกร็ดความรู้เรื่องการเขียนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการและการขอตำแหน่งทางวิชาการให้ประสบความสำเร็จ
จากการร่วม “โสเหร่ KM Blog”วันที่ 30 ตุลาคม 2555 เวลา 11.30-13.00 น.

1.การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการให้สำเร็จ
ผศ.ดร.รุ่งรัศมี บุญดาว ให้ข้อคิดว่า จะต้องมีความกล้าในการเขียนบทความเสียก่อน เมื่อกล้าเขียนและพยายามต่อไปจนกระทั่งได้ตีพิมพ์ในวารสารฉบับแรกจะมีความมั่นใจในตนเอง และจะสามารถส่งบทความตีพิมพ์ได้มากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้การเลือกวารสารที่จะตีพิมพ์นั้นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของการตีพิมพ์ เช่น หากต้องการสร้างความมั่นใจในตนเองในการตีพิมพ์บทความชิ้นแรกเสียก่อน ก็อาจเลือกตีพิมพ์ในวารสารที่อาจไม่จำเป็นต้องเป็นวารสารที่มีชื่อเสียงมากนัก หรือต้องมีคุณภาพระดับดีเลิศ เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อให้มีโอกาสได้รับการตอบรับตีพิมพ์ที่ไม่ยากจนเกินไป หรือรอนานเกินไป แต่ถ้าต้องการตีพิมพ์วารสารที่มีผลกระทบ (Impact factor) สูงเพื่อให้สามารถใช้เป็นผลงานที่มีคุณภาพสูง (บนสมมติฐานที่ว่า หากตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ก็น่าจะการันตีได้ว่าเป็นผลงานที่ดี) เพื่อประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการ ก็สามารถดูได้จากฐานข้อมูลวารสาร เช่น ในTCI ,Scopus หรือ ISI เป็นต้น นอกจากนั้นไม่ควรกลัวความผิดหวัง หรือท้อแท้เพราะเราสามารถเลือกลงตีพิมพ์ที่วารสารฉบับอื่นๆซึ่งมีอยู่มากในปัจจุบันต่อไปได้ หากวารสารที่เราคาดหวังการตอบรับการตีพิมพ์ฉบับแรกปฏิเสธการตอบรับการตีพิมพ์บทความเรา และไม่ต้องกลัวเรื่องการเขียนบทความภาษาอังกฤษเพราะมีอาจารย์หลายท่านสามารถช่วยเหลือเรื่องการ editing ภาษาอังกฤษได้ เช่น อาจารย์
วีรภัทร เกียรติดำรง เป็นต้น
ผ.ศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์ ก็ได้ให้ ข้อคิดที่น่าสนใจหลายประเด็นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเรื่องการตีพิมพ์บทความวิจัยที่มีคุณภาพ เพื่อใช้ประกอบการขอตำแหน่งทางวิชาการนั้น ผศ.ศิริรัตน์ กล่าวว่า อาจไม่จำเป็นต้องตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อเสียงมากหรือมีผลกระทบทางวิชาการสูง(Impact factor)เท่านั้น เพราะบทความจะมีคุณภาพหรือไม่นั้นผู้ทรงคุณวุฒิที่พิจารณาผลงานที่เราเสนอเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการจะเป็นผู้ประเมินหรือตัดสินผลงานอีกครั้งในท้ายที่สุด นอกจากนี้การตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับสูงมากๆนั้นก็มีข้อควรพิจารณาหรือข้อควรระวังในเรื่องของระยะเวลาที่ต้องรอผลการตอบรับการตีพิมพ์ เนื่องจากพบว่าบางแห่งใช้เวลาหลายเดือนหรือนานกว่าหนึ่งปี ซึ่งระยะเวลาที่นานเกินไปอาจทำให้บทความของเราอาจไม่ทันต่อเหตุการณ์ หรือล้าสมัยแล้วก็ได้ในวันที่วารสารตอบรับหรือตีพิมพ์บทความของเรา นอกจากนี้การเก็บข้อมูลวิจัยด้วยตนเองจะทำให้ได้ข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นกว่าข้อมูลที่ได้จากคำตอบที่ปรากฏในแบบสอบถามเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้ได้มุมมองที่กว้างขวางและลึกซึ้งมากขึ้นในการเขียนบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ

2.การทำงานวิจัยให้ประสบความสำเร็จและการขอตำแหน่งทาวิชาการ
ผ.ศ.สืบพงษ์ หงษ์ภักดี ให้ข้อแนะนำเรื่องการทำงานวิจัยให้ได้รับรางวัลคือ การทำวิจัยที่เป็นเชิงปฏิบัติการ (Action research) หรือการวิจัยแบบสำรวจ (Survey research) และในระเบียบวิธีการวิจัยจะต้องปรากฏเครื่องมือหรือวิธีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งที่เป็นแบบเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพด้วย
ผ.ศ. นภาพร หงส์ภักดี ก็ให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการขอตำแหน่งวิชาการ ว่าต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเงื่อนไข ระเบียบและขั้นตอนต่างๆให้ดี และวางแผนการทำงานในแต่ละวันเพื่อให้งานเสร็จตามกำหนดเวลาที่เหมาะสม และต้องทำงานวิจัยควบคู่กับการทำตำราหรือเอกสารประกอบการสอน ไม่ต้องรอว่าต้องทำผลงานอย่างใดอย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์เสียก่อนจึงทำผลงานอย่างอื่นต่อไป โดยเฉพาะการทำตำราต้องใช้ความพยายามอย่างมากพอสมควร เพราะต้องให้ความสำคัญ กับความถูกต้องในทุกๆหน้าของตำรา เพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

สุขวิทย์ โสภาพล 2/11/55

2 Responses to เกร็ดความรู้เรื่องการเขียนบทความวิจัยและการขอตำแหน่งทางวิชาการ

ใส่ความเห็น