browser icon
You are using an insecure version of your web browser. Please update your browser!
Using an outdated browser makes your computer unsafe. For a safer, faster, more enjoyable user experience, please update your browser today or try a newer browser.

Good Practice in the Supervision of Doctoral and Masters Research

Posted by on 9 มกราคม, 2013

จากการเข้าร่วมสมนาระดมสมองเรื่องการหาแนวทางปฏิบัติที่ดี ในการดูแลวิทยานิพนธ์นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโทและปริญญาเอก การระดมสมองจากผู้เข้าร่วมจากหลายมหาวิทยาลัยทั้งไทยและต่างประเทศ เห็นตรงกันว่า เพื่อให้การดูแลงานวิทยานิพนธ์ให้ออกมาได้ดีควรจัดตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นทีมเพราะอาจารย์ทุกท่านไม่ได้รอบรู้ไปหมดทุกเรื่อง และทีมที่ปรึกษาควรประกอบด้วย
1. หัวหน้าที่ปรึกษาที่จะดูแลงานวิทยานิพนธ์ จะรับผิดชอบดูแลเรื่องเนื้อหางานวิจัยตามขอบข่ายที่อาจารย์ท่านนั้นถนัด
2. ที่ปรึกษาร่วมที่เชี่ยวชาญทางสถิติ ตัวเลขและระเบียบวิธีวิจัยเพื่อควบคุมงานให้ใช้เครื่องมือได้ถูกต้อง
3. ที่ปรึกษาร่วมที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการเขียน ภาษา เพื่อตรวจสอบด้านรูปแบบการเขียน การอ้างอิง การเขียนบทความและการใช้ภาษาทั้งไทย และอังกฤษ ว่าถูกต้องตามหลักการเขียนงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกฟ้องร้องเรื่องการผิดจรรยาบรรณทางวิชาการ

ยิ่งไปกว่านั้นบางท่านได้แสดงความคิดเห็นว่า หากนักศึกษาที่ไม่มีการดำเนินการใด่ทั้งที่มีการติดตามจากที่ปรึกษาอยู่แล้วก็ตามจะต้องมีการนำเสนอความก้าวหน้าทุกภาคการศึกษา และในการสอบความก้าวหน้าจะต้องมีอาจารย์ที่ปรึกษาหลักเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอความก้าวหน้าทุกครั้ง กรรมการที่ร่วมรับฟังการนำเสนอจะต้องจัดหมุนเวียนอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องที่นักศึกษาจะทำเพื่อการซักถามและแนะนำความคิดเห็นต่องานวิจัยให้กับทั้งนักศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาด้วย แต่มิใช่การบังคับหรือสั่งให้เปลี่ยนแนวทางตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิแนะนำ เพราะเป็นดุลพินิจของอาจารย์ที่ปรึกษาหลัก

ข้อแนะนำการตั้งทีมอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ควรจำกัดอยู่แต่ภายในสาขาวิชาหรือคณะเดียวกันแต่ควรมีการเชิญอาจารย์จากทุกคณะที่มีความชำนาญเกี่ยวข้องกับขอบข่ายงานวิจัยที่นักศึกษาจะทำเพื่อให้ได้ความถูกต้องและครอบคลุมเนื้อหาทุกส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้นๆ

ใส่ความเห็น