browser icon
You are using an insecure version of your web browser. Please update your browser!
Using an outdated browser makes your computer unsafe. For a safer, faster, more enjoyable user experience, please update your browser today or try a newer browser.

คุณภาพงานวิจัย

Posted by on 14 มกราคม, 2013

เก็บตกจากการ่วมฟังบรรยายโดย ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ เรื่อง “คุณภาพงานวิจัย”
การจะวัดคุณภาพประสิทธิภาพการวิจัย หรือผลงานวิจัยควรจะดูทั้ง Output และ Outcome ของการวิจัย โดยมีปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงดังนี้
1. ผลงานวิจัย จะคำนึงถึงระดับของงานวิจัย จำนวนผลงานวิจัย และคุณภาพของผลงานวิจัย โดยดูที่ output ที่ได้ออกมาว่ามีคุณภาพในระดับใด
2. การได้รับการอ้างอิงทางวิชาการ (academic impact) หรือการถูกนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือเชิงสังคม (commercial or social impact) มากน้อยแค่ไหน ซึ่งก็คือ outcome นั่นเอง
3. ประการสำคัญคืองานวิจัยทุกงานควรสร้างนักวิจัยใหม่ๆให้ได้อยู่เสมอ เช่น โครงการวิจัยที่ต่อเนื่อง หรือได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น (ผลงานหรือบุคคล) เป็นต้น ซึ่งก็คือ Output+Outcome นั่นเอง
แต่ปัญหาของการวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยภาคอุตสาหกรรม/พานิชย์กรรม ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยคือ
1. อาจารย์ที่ได้รับงานวิจัยมีความรู้พื้นฐานไม่แน่นและขาด network ที่ดี
2. ความต้องการผลงานวิจัยที่รวดเร็วจากภาคเอกชน ในขณะที่อาจารย์และนักศึกษา ทำงานไม่เต็มเวลา เนื่องจากติดภาระงานสอนและต้องเข้าชั้นเรียนมาก
3. อาจารย์ขาดทักษะเน้นวิจัยวิชาการมากไปและไม่ทำงานเป็นทีม ไม่มีบรรยากาศการวิจัย
4. อุปกรณ์เครื่องมือไม่ทันสมัย ไม่เที่ยงตรงและมีขนาดเล็ก
5. เงินทุนวิจัยมีจำกัด (ภาคเอกชนไม่ยอมจ่ายค่าความรู้และภาครัฐมีงบประมาณจำกัด)
6. ระบบการบริหารการเงินอิงราขการมากเกินไป
7. ผลงานวิจัยภาคอุตสาหกรรม/เชิงพานิชย์ไม่เอื้อต่อการขอตำแหน่งทางวิชาการ
8. เอกชนไม่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มี innovation สูงมากๆเนื่องจากจะทำตลาดยากส่วนใหญ่จะเน้นสร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีตลาดอยู่แล้ว
9. SME ไม่มีบุคคลมากพอที่จะเข้าร่วมทำการวิจัยกับสถาบันวิจัยและไม่มีการสนับสนุนให้นักวิจัยมีการ spin off.

ใส่ความเห็น