ได้มีโอกาสเข้าอบรมเป็นทางการเกียวกับโปรแกรม SPSS เป็นครั้งที่ 2 ที่ีครั้งแรกอบรมมาหลายแล้ว
ในครั้งนี้เป็นการ Work shop กับข้อมูลจริงจากงานวิจัยตนเอง (E-Tourism)
โดยได้ ดร.เพ็ญภัคร พื้นผา มาเป็นวิทยากรบรรยายให้ฟัง ซึ่งความรู้ได้รับมากมาย ในสูตรด้านสถิติ
แต่โดยส่วนตัวมองว่า งานวิจัยที่เราทำการ Apply ประยุกต์ไอทีหรือ MIS เข้าไปใช้ จะใช้สถิติลึกปานนั้นเชียวหรือ
ดังนั้น จึงอยากสรุปสถิติทีคิดว่าเป็นพื้นฐาน และในระดับสูงที่ได้จ่ากการอบรมครั้งนี้ ซึ่งก่อนหน้าจะไปทราบเราต้องมีความรู้เรื่องดังต่อไปนี้ก่อน
1. ความหมายสถิติ เป็นความรู้ทั่วไปที่นักวิจัยสามารถหาอ่านได้ แต่วิทยากรจะสรุปเป็นประโยคที่เข้าใจง่ายมากขึ้น
2. อะไรคือ ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง
3. ค่าพารามิเตอร์ และค่าสถิติคืออะไร
4. ขั้นตอนการวิจัย และการใช้สถิติ โดยรวม ขั้นตอนการวิจัย ส่วนใหญ่จะทราบกันดีอยู่แล้ว สำหรับคนเคยทำวิจัย แต่จะให้ละเอียดแค่ไหน ขึ้นกับว่าตำราใครเขียนมากกว่าค่ะ
5. มาตรการวัด ซึ่งหัวข้อนี้ ทำเอางง และต้องมีตัวอย่างดี ๆ ประกอบถึงจะเข้าใจ เช่น มาตรนามบัญญัติ หรือ มาตรอันดับ มาตรช่วงหรืออัตรภาค หรือ มาตรอัตราส่วน
ต่อมา วิทยากรได้แนะนำโปรแกรม SPSS ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ โชคดีคณะบริหารศาสตร์ได้ซื้อมาเรียบร้อย ฉะนั้น นักวิจัยทุกคนสบายใจได้ค่ะ
ซึ่งหัวข้อการใช้โปรแกรมดังนี้
1. ทำความรู้จักส่วนประกอบหน้าต่าง ๆ ของ SPSS
2. การตั้งค่าตัวแปร
3. การวิเคราะห์ตัวแปรเชิงกลุ่ม เชิงปริมาณ
4. การวิเคราะห์ตัวแปร ค่า แบบ Frequencies and Decriptive
5. การทดสอบสมมุติฐานกับค่าเฉลี่ยประชากร
6. การวิเคราะห์ความแปรปรวน
7. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแแปร แบบ Chi-square / Pearson Chi-square / Continggency Codffeient / Phi and Cramer’s V / Lambda /Gammas / Kandal Tau-c / Speaman Correlation
ความรู้ทั้งหมดที่ได้กล่าวไปแล้ว จะเห็นว่า งานวิจัยเราไม่สามารถใช้ได้หมดทุกตัว
นักวิจัยต้องทำการวิเคระาห์ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยเรา
ซึ่งต้องใช้เวลา และทักษะในการเรียนรู้ เพื่อความคล่องและเข้าใจมากขึ้น
ขอบคุณวิทยากรที่ให้ความรู้
ขอบคุณงานวิจัยที่ทำให้มีข้ัอมูลวิเคราะห์
ขอบคุณ SPSS ที่ทำให้ชีวิตนักวิจัยง่ายขึ้น
และขอบคุณคณะฯ ที่มีโปรแกรมถูกลิขสิทธิ์ใช้
และท้ายที่สุด ขอบคุณตนเองที่อดทนในการทำวิจัย และพยายามรักการวิจัย
อ.พิมลพรรณ