browser icon
You are using an insecure version of your web browser. Please update your browser!
Using an outdated browser makes your computer unsafe. For a safer, faster, more enjoyable user experience, please update your browser today or try a newer browser.

ความรู้จากการอบรม เรื่อง การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับการสนับสนุน

Posted by on 16 กุมภาพันธ์, 2013

เชื่อว่านักวิจัยหลายๆ ท่าน มีความรู้หรือผ่านการอบรมมานับไม่ถ้วนเหมือนดิฉัน

โดยเฉพาะ วิทยากร จาก ม.ชื่อดัง คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทุกคนย่อมไม่พลาด เข้าอบรมกันเยอะ

โดยจัดที่ คณะบริหารศาสตร์ ม.อุบลฯ วันที่ 26 ต.ค. 2555

โดยครั้งนี้ก็เป็นอีกการอบรมที่ถึงแม้ว่าเหัวข้อจะไม่ได้โดดเด่น อะไรมาก แต่ก็ได้ความรู้พอกพูน ที่พอจะสรุปเกร็ดเคล็บที่วิทยากรพยายามแทรกได้ด้ังนี้

สิ่งแรกที่ควรทำ

  1. -Research มีคุณภาพแค่ไหน
  2. -ตัวแปรอะไรที่เราสนใจส่่วนใหญ่เป็นตัวแปรตาม (เราทำเพื่ออะไร)
  3. -เราสนใจเรื่องอะไร / ระดับไหน (level)
  4. -เป็นวิจัยอะไร เช่น R&D / ทดลอง / ประยุกต์

ต่อมานักวิจัยต้องพิจารณาว่าจะเป็นวิจัยอะไร เกร็ดความรู้พอสรุปได้ดังนี้

1. วิจัยพัฒนา ควรจะจบลงด้วยการนำไปใช้ประโยชน์ให้เกิดคุณค่า (มีการทดลองใช้จริง ใช้ยากไหม ? / ใช้ได้จริงไหม ?)

2. เทคินิคการ Review

– ในไทยควร Review ว่าใครทำหรือยัง

-ต่างประเทศสัก 3-4 เรื่อง มีประเด็นไหนจะ Top up ต่อได้

– ควรอ้างอิงทฤษฎีคนที่เป็นเจ้าของทฤษฎีจริง ๆ (อย่าอ้างอิงนักวิจัยี่อ้างอิงอีกทีหนึ่ง)

– ควรสังเคราะห์จากการอ่านทั้งหมด ไม่ควรลอกมาทั้งท่อน

3. บรูณาการวิจัย

– บูรณาการ ระหว่าง กรม – กรม เช่น คณะบริหารศาสตร์ กับกรมส่งเสริมอุุตสาหกรรม

– บูรณาการระหว่างศาสตร์

ซึ่งเมื่อเวลาเขียน Report ต้องเขียนเล่มใหญ่ บวก เล่มเล็ก (ตามสาขาที่บูรณาการ ซึ่งจะทำให้ได้ผลงานอ้างอิงได้เยอะ)

4. บทความวิจัย จะถือว่าสำคัญกว่ารายงานวิจัย โดยเฉพาะที่มี Peer Review

นอกจากนั้นยังได้เคล็ดลับในการทำงานในฝ่ายวิจัย ที่จะเอามาประยุกต์ในงานในหน้าที่ ดังนี้

1. ต้องทำงานเชิงรุกให้มาก

2. หาแหล่งทุนว่ามีที่ไหนบ้างมารวบรวม

3. มีคลัง Review งานวิจัยไว้เยอะๆๆ

4. ถ้าจะตีพิมพ์ อาจจะต้องจ้างแปล ถ้าจำเป็น

5. การตีพิมพ์ต่างประเทศ ให้ระวัง Journal Electronic ที่มุ่งหาเงิน แต่ไม่ได้มาตรฐาน

6. ปัจจุบันการคัดลอกผลงานคนอื่น หรือ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต มีโปรแกรมที่ชื่อว่า Turn it in โดยเป็นโปรแกรมที่สามารถสแกนว่า งานเรามีการคัดลอกจากคนอื่นกี่ %  ซึ่งบางสถาถันอาจจะใช้เครื่องมือนี้ในการพิจารณาผลงาน

 

สุดท้ายขอขอบคุณท่าน อ.อวยพร และคณะ ที่เปิดโอกาสให้นักวิจัยคณะบริหารศาสตร์ ได้รับความรู้ ในอีกมุมมองหนึ่ง

 

อ.พิมลพรรณ

 

ใส่ความเห็น